วันพุธที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2559

โคลงงานวิทยาศาสตร์ เรื่ิงไม้กวาดจากขวดพลาสติก วัดบางลี่

โครงงาน วิทยาศาสตร์ประเภทสิ่งประดิษฐ์
เรื่อง    ไม้กวาดจากขวดพลาสติก

เสนอ
อาจารย์  ภาวัต    กันตศรี 

จัดทำโดย
.กาญจนี    เดือนขึ้น               (หัวหน้า)
.ช.  วรินทร  ภู่สวัสดิ์              (รองหัวหน้า)
.ช.  วรเมธ  บุญคำ                             (เลขา)
..   หัตถาพงษ์  จิ้งหรีด                 (ผู้ช่วย)

 โรงเรียนวัดบางลี่(วุฒิพันธุ์วิทยา) อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี 
     โครงงานฉบับนี้เป็นส่วนประกอบของวิชาคอมพิวเตอร์ ระดับชั้นที่ 3




 กิตติกรรมประกาศ

            โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง ไม้กวาดจากขวดพลาสติกเพื่อศึกษาทดลอง โดยได้รับการสนับสนุนจากเพื่อนร่วมกลุ่มและคุณครูภาวัต  กันตศรี ที่ได้ให้คำปรึกษาในการจัดทำโครงงาน ที่ได้ให้ข้อเสนอแนะแนะนำเอกสารตำราต่างๆที่ศึกษาค้นคว้า
            คณะผู้จัดทำขอขอบพระคุณทุกท่านดังที่ได้กล่าวถึงมาข้างต้นและที่ไม่ได้กล่าวถึง ไว้ ณ ที่นี้        เป็นอย่างสูง




บทคัดย่อ

โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง   ไม้กวาดจากขวดพลาสติกจัดทำโดยใช้

1.       ไม้ไผ่
2.       ขวดน้ำพลาสติก(1.5ลิตร)
3.       กรรไกร
4.       มีด
5.       ค้อน
6.       ตะปู

ผลที่ได้จากการจัดทำโครงงาน

            ที่พวกเราเลือกที่จะทำไม้กวาดจากขวดพลาสติกเพราะว่า ที่โรงเรียนของพวกเราทุกปีจะต้องซื้อไม้กวาดทุกๆปี พวกเราจึงเลือกที่จะทำโครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง ไม้กวาดจากขวดพลาสติก เพื่อแก้ปัญหา เรื่องนี้ และ อีกอย่างทำไห้ประหยัดค่าใช้จ่ายทั้งโรงเรียนและที่บ้านอีกด้วยแถมยังเป็นอาชีพได้อีก                           








บทที่   1
บทนำ

ที่มาและความสำคัญ
บ่อยครั้ง ที่ทางเว็บไซต์ “บ้านความคิดทีมงานพยายามหาความคิดดีๆ โดยเฉพาะ ความคิดที่สร้างสรรค์ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การนำวัสดุที่เราเรียกกันว่าขยะ หากสามารถทำมูลค่าเพิ่มให้กับมันได้ สิ่งนี้ จะช่วยโลกของเราให้น่าอยู่ขึ้นอย่างมาก โดยเฉพาะ ขยะประเภทขวดพลาสติก ที่มีให้เห็นกันมากมาย ทั้งในถังขยะ และแหล่งท่องเที่ยวสาธารณะ ริมถนน มากมายก่ายกอง คงดีไม่น้อย หากเราช่วยกันคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆจับขวดเหล่านี้มาประยุกต์เป็นของใช้ของตกแต่งบ้าน
              สำหรับวันนี้ สิ่งประดิษฐ์ ที่ทางเว็บนำเสนอ เป็นการทำไม้กวาด จากขวดน้ำอัดลม ไม้กวาดดังกล่าว เหมาะสำหรับใช้แทน ไม้กวาดทางมะพร้าว ไม้กวาดไม้ไผ่ ไว้สำหรับกวาดขยะชิ้นใหญ่ ใบไม้ แต่ไม่เหมาะสมสำหรับการกวาดขยะภายในบ้าน เนื่องด้วยวัสดุพลาสติก ที่ไม่อ่อนตัว

วัตถุประสงค์
เพื่อศึกษาการจัดทำ ไม้กวาดจากขวดน้ำพลาสติก
ศึกษาเพื่อ ให้เกิดประโยชน์แก่ โรงเรียน ตัวเอง และ ผู้อื่นอีกด้วย
ศึกษาเพื่อ ให้ประหยัดค่าใช้จ่ายภายใน โรงเรียน และ บ้านของพวกเรา

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
ขวดพลาสติกที่ใช้แล้วเป็นขยะมูลฝอยถ้าหากเราทิ้งเกลื่อนกลาดจะทำให้เกิดความสกปรกและถ้าเก็บไม่เรียบร้อยก็จะ เป็นแหล่งสะสมเชื้อโรค แหล่งเพาะพันธุ์และที่หลบซ่อนของสัตว์ต่างๆ ที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของเรา
นอกจากนี้การย่อยสลายยากทำให้เกิดการทับถมและสิ่งที่เน่าเสีย ส่งกลิ่นเหม็นและก่อความรำคาญให้กับชุมชน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ขวดน้ำดื่มพลาสติกที่มีปริมาณเพิ่มมากขึ้นทุกวันตามอัตราการเพิ่มของประชากร การนำขวดน้ำพลาสติกที่จะทิ้งกลับมาใช้ใหม่ให้เกิดประโยชน์เป็นแนวทางหนึ่งที่จะช่วยลดปริมาณขยะและใช้ทรัพยากรได้อย่างคุ้มค่า


 




บทที่   2
เอกสารที่เกี่ยวข้อง

จากการทดลองครั้งนี้พบว่าไม้กวาดจากขวดน้ำพลาสติกสามารถกวาดขยะได้จริงและสะอาดจริงโดยสังเกต
จากผลการเปรียบเทียบการทดลองระหว่างไม้กวาดทางมะพร้าวกับไม้กวาดจากขวดน้ำพลาสติกพบว่าไม้กวาดจากขวดพลาสติกสามารถกวาดขยะได้ดีกว่าไม้กวาดทางมะพร้าว

อภิปรายผลการทดลอง
จากการทดลองพบว่าเมื่อนำไม้กวาดมาทดลองกวาดขยะบริเวณรอบบ้านนั้น สามารถกวาดขยะได้ดีและสะอาดรูปร่างมีลักษณะเบาแข็งแรงและมีอายุการใช้งานได้นานกว่าไม้กวาดทางมะพร้าวเพราะไม้กวาดขวดน้ำพลาสติกนั้นทนต่อการถูกน้ำได้แต่ ไม้กวาดทางมะพร้าวนั้นเมื่อถูกน้ำแล้วก็จะเกิดการหักหรือหลุดอออกมาทำให้การใช้งานนั้นไม่ค่อยดีสักเท่าไหร่ซึ่งสนับสนุนสมมติฐานที่ว่าไม้กวาดจากขวดน้ำพลาสติกมีคุณภาพดีกว่าไม้กวาดทางมะพร้าว







บทที่  3
วิธีดำเนินการโครงงาน
อุปกรณ์
              1.ไม้ไผ่        
2.ขวดน้ำขนาด 1.0 ลิตร
3.กรรไกร
4.มีด
5.ค้อน
6.ตะปู

วิธีทำ   ไม้กวาดจากขวดพลาสติก
1)      เอาขวดพลาสติกที่ไม่ใช้แล้วแล้วมาห้าใบ ขนาดเดียวกันทั้งห้าใบ ควรจะใช้ขวดขนาด1.0 ลิตร
                                 


2)  ตัดก้นขวดออก ตรงเหนือรอยหยักเล็กน้อย                                                                                              


3) จากนั้นใช้กรรไกรมาตัดตามความยาวของขวดให้เป็นเส้น จากก้นขวดมาปากขวด และหยุดบริเวณที่นิ้วชี้ในรูป ตัดไปเรื่อยๆจนรอบขวด แต่ละเส้นควรมีขนาดประมาณไม่เกิน 1 ซม
.
4) เอาขวดที่ตัดแล้ว นำไม้มาตอกติดแบบในภาพ
5) จากนั้นให้หาไม้ไผ่ขนาดใหญ่และยาวกำลังพอเหมาะ หรือด้ามไม้ม็อบที่ไม่ใช้แล้ว มาเหลาให้เล็กกว่าปากขวด แล้วสอดเข้าไปทางปากขวด จากนั้นเอาตะปูตัวเล็กๆมาตอกให้ขวดติดกับด้ามไม้ให้แน่นระวังอย่าใช้ตะปูตัวใหญ่ เพราะด้ามไม้จะแตก



วิธีการดำเนินโครงงาน
 3.1 วิธีการดำเนินโครงงาน


ลำดับที่

กิจกรรม
ระยะเวลาในการดำเนินโครงงาน
สัปดาห์
ที่1
สัปดาห์
ที่2
สัปดาห์
ที่3
สัปดาห์
ที่4
สัปดาห์
ที่5
สัปดาห์
ที่6
สัปดาห์
ที่7
สัปดาห์
ที่8
1
กำหนดชื่อโครงงาน
2
กำหนดวัตถุประสงค์โครงงาน
3
กำหนดขั้นตอนในการทำโครงงาน
4
สืบค้นข้อมูลเพื่อจำทำโครงงาน
5
จัดทำโครงงาน
6
ลงมือทำโครงงาน
7
การเขียนรายงาน
8
การนำเสนอและแสดงผลงาน







บทที่4
ผลการดำเนินงาน

คณะผู้จัดทำสามารถดำเนินการได้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดีโดยการวางแผนวิธีดำเนินการอย่างเป็นขั้นตอนและมีการนำเทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ตมาใช้ในการทำโครงงาน เช่น
1.การรวบรวมข้อมูล “ไม้กวาดจากขวดพลาสติก” จากทางอินเตอร์เน็ต
2.การศึกษาวิธีการสร้างเว็บบล็อกเพื่อใช้เป็นสื่อในการเผยแพร่ความรู้เรื่อง “ไม้กวาดจากขวดพลาสติก”จากทางอินเตอร์เน็ต







 บทที่ 5
สรุป   อภิปรายและข้อเสนอแนะ

การจัดทำโครงงาน    ไม้กวาดจากขวดพลาสติก นี้สามารถสรุปผลการดำเนินโครงงาน และข้อเสนอแนะ ดังนี้

วัถุประสงค์ของโครงงาน
1. เพื่อให้รู้ถึง การประยุกต์ใช้ ของเหลือใช้
2.ลดค่าใช้จ่ายให้ครัวเรือนและใช้วัตถุดิบจากธรรมชาติให้มากขึ้น
3.สามารถใช้ประกอบอาชีพได้

สรุปผลการดาเนินงานโครงงาน
จากการดำเนินงานโครงงาน วิทยาศาสตร์ประเภทสิ่งประดิษฐ์ เรื่อง ไม้กวาดจากขวดพลาสติก ในครั้งนี้สรุปผลการดำเนินงานได้ดังนี้
ทำให้ได้เว็บบล็อกเรื่อง  ไม้กวาดจากขวดพลาสติก เป็นการทำให้เกิดประโยชน์กับบุคคลที่สนใจทั่วไป   

ข้อเสนอแนะ 
ควรมีการจัดทำเนื้อหาของโครงงานให้หลากหลายให้ครบทุกกลุ่มสาระ การเรียนรู้

ปัญหา อุปสรรค และแนวทางในการพัฒนา
        1.  เครื่องคอมพิวเตอร์ไม่เพียงพอกับการทำโครงงาน และบางครั้งอินเทอร์เน็ตมีปัญหา
        2.  สมาชิกในกลุ่มบางคนให้ความร่วมมือน้อยเพราะไม่ค่อยใส่ใจกับโครงงานนักจึงทำให้           เสียเวลาและทำให้โครงงานเสร็จช้า





ภาคผนวก













ที่อยู่เว็บบล็อกของผู้จัด                                                                           

บรรณนานุกรม
http://rachabur1234i.blogspot.com                                                                        
https://www.youtube.com/watchv=tjiqqtm8TOw                                                                          https://sites.google.com/site/taukjirawan/bth-thi1

           






คณะผู้จัดทำ