โครงงาน วิทยาศาสตร์ประเภทสิ่งประดิษฐ์
เรื่อง ไม้กวาดจากขวดพลาสติก
เสนอ
อาจารย์ ภาวัต กันตศรี
จัดทำโดย
ด.ญ. กาญจนี เดือนขึ้น
(หัวหน้า)
ด.ช. วรินทร
ภู่สวัสดิ์
(รองหัวหน้า)
ด.ช. วรเมธ
บุญคำ
(เลขา)
ด.ช. หัตถาพงษ์ จิ้งหรีด
(ผู้ช่วย)
โรงเรียนวัดบางลี่(วุฒิพันธุ์วิทยา) อำเภอเมือง
จังหวัดราชบุรี
โครงงานฉบับนี้เป็นส่วนประกอบของวิชาคอมพิวเตอร์
ระดับชั้นที่ 3
กิตติกรรมประกาศ
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง ไม้กวาดจากขวดพลาสติกเพื่อศึกษาทดลอง
โดยได้รับการสนับสนุนจากเพื่อนร่วมกลุ่มและคุณครูภาวัต กันตศรี ที่ได้ให้คำปรึกษาในการจัดทำโครงงาน
ที่ได้ให้ข้อเสนอแนะแนะนำเอกสารตำราต่างๆที่ศึกษาค้นคว้า
คณะผู้จัดทำขอขอบพระคุณทุกท่านดังที่ได้กล่าวถึงมาข้างต้นและที่ไม่ได้กล่าวถึง
ไว้ ณ ที่นี้ เป็นอย่างสูง
บทคัดย่อ
โครงงานวิทยาศาสตร์
เรื่อง ไม้กวาดจากขวดพลาสติกจัดทำโดยใช้
1.
ไม้ไผ่
2.
ขวดน้ำพลาสติก(1.5ลิตร)
3.
กรรไกร
4.
มีด
5.
ค้อน
6.
ตะปู
ผลที่ได้จากการจัดทำโครงงาน
ที่พวกเราเลือกที่จะทำไม้กวาดจากขวดพลาสติกเพราะว่า
ที่โรงเรียนของพวกเราทุกปีจะต้องซื้อไม้กวาดทุกๆปี พวกเราจึงเลือกที่จะทำโครงงานวิทยาศาสตร์
เรื่อง ไม้กวาดจากขวดพลาสติก เพื่อแก้ปัญหา เรื่องนี้ และ
อีกอย่างทำไห้ประหยัดค่าใช้จ่ายทั้งโรงเรียนและที่บ้านอีกด้วยแถมยังเป็นอาชีพได้อีก
บทที่ 1
บทนำ
ที่มาและความสำคัญ
บ่อยครั้ง ที่ทางเว็บไซต์ “บ้านความคิด” ทีมงานพยายามหาความคิดดีๆ โดยเฉพาะ ความคิดที่สร้างสรรค์
เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การนำวัสดุที่เราเรียกกันว่าขยะ หากสามารถทำมูลค่าเพิ่มให้กับมันได้
สิ่งนี้ จะช่วยโลกของเราให้น่าอยู่ขึ้นอย่างมาก โดยเฉพาะ ขยะประเภทขวดพลาสติก
ที่มีให้เห็นกันมากมาย ทั้งในถังขยะ และแหล่งท่องเที่ยวสาธารณะ ริมถนน
มากมายก่ายกอง คงดีไม่น้อย หากเราช่วยกันคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆจับขวดเหล่านี้มาประยุกต์เป็นของใช้ของตกแต่งบ้าน
สำหรับวันนี้ สิ่งประดิษฐ์ ที่ทางเว็บนำเสนอ เป็นการทำไม้กวาด จากขวดน้ำอัดลม ไม้กวาดดังกล่าว เหมาะสำหรับใช้แทน ไม้กวาดทางมะพร้าว ไม้กวาดไม้ไผ่ ไว้สำหรับกวาดขยะชิ้นใหญ่ ใบไม้ แต่ไม่เหมาะสมสำหรับการกวาดขยะภายในบ้าน เนื่องด้วยวัสดุพลาสติก ที่ไม่อ่อนตัว
สำหรับวันนี้ สิ่งประดิษฐ์ ที่ทางเว็บนำเสนอ เป็นการทำไม้กวาด จากขวดน้ำอัดลม ไม้กวาดดังกล่าว เหมาะสำหรับใช้แทน ไม้กวาดทางมะพร้าว ไม้กวาดไม้ไผ่ ไว้สำหรับกวาดขยะชิ้นใหญ่ ใบไม้ แต่ไม่เหมาะสมสำหรับการกวาดขยะภายในบ้าน เนื่องด้วยวัสดุพลาสติก ที่ไม่อ่อนตัว
วัตถุประสงค์
- เพื่อศึกษาการจัดทำ ไม้กวาดจากขวดน้ำพลาสติก
- ศึกษาเพื่อ ให้เกิดประโยชน์แก่ โรงเรียน ตัวเอง และ ผู้อื่นอีกด้วย
- ศึกษาเพื่อ ให้ประหยัดค่าใช้จ่ายภายใน โรงเรียน และ บ้านของพวกเรา
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
ขวดพลาสติกที่ใช้แล้วเป็นขยะมูลฝอยถ้าหากเราทิ้งเกลื่อนกลาดจะทำให้เกิดความสกปรกและถ้าเก็บไม่เรียบร้อยก็จะ
เป็นแหล่งสะสมเชื้อโรค แหล่งเพาะพันธุ์และที่หลบซ่อนของสัตว์ต่างๆ
ที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของเรา
นอกจากนี้การย่อยสลายยากทำให้เกิดการทับถมและสิ่งที่เน่าเสีย
ส่งกลิ่นเหม็นและก่อความรำคาญให้กับชุมชน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
ขวดน้ำดื่มพลาสติกที่มีปริมาณเพิ่มมากขึ้นทุกวันตามอัตราการเพิ่มของประชากร
การนำขวดน้ำพลาสติกที่จะทิ้งกลับมาใช้ใหม่ให้เกิดประโยชน์เป็นแนวทางหนึ่งที่จะช่วยลดปริมาณขยะและใช้ทรัพยากรได้อย่างคุ้มค่า
บทที่ 2
เอกสารที่เกี่ยวข้อง
จากการทดลองครั้งนี้พบว่าไม้กวาดจากขวดน้ำพลาสติกสามารถกวาดขยะได้จริงและสะอาดจริงโดยสังเกต
จากผลการเปรียบเทียบการทดลองระหว่างไม้กวาดทางมะพร้าวกับไม้กวาดจากขวดน้ำพลาสติกพบว่าไม้กวาดจากขวดพลาสติกสามารถกวาดขยะได้ดีกว่าไม้กวาดทางมะพร้าว
อภิปรายผลการทดลอง
จากการทดลองพบว่าเมื่อนำไม้กวาดมาทดลองกวาดขยะบริเวณรอบบ้านนั้น
สามารถกวาดขยะได้ดีและสะอาดรูปร่างมีลักษณะเบาแข็งแรงและมีอายุการใช้งานได้นานกว่าไม้กวาดทางมะพร้าวเพราะไม้กวาดขวดน้ำพลาสติกนั้นทนต่อการถูกน้ำได้แต่
ไม้กวาดทางมะพร้าวนั้นเมื่อถูกน้ำแล้วก็จะเกิดการหักหรือหลุดอออกมาทำให้การใช้งานนั้นไม่ค่อยดีสักเท่าไหร่ซึ่งสนับสนุนสมมติฐานที่ว่าไม้กวาดจากขวดน้ำพลาสติกมีคุณภาพดีกว่าไม้กวาดทางมะพร้าว
บทที่ 3
วิธีดำเนินการโครงงาน
อุปกรณ์
1.ไม้ไผ่
2.ขวดน้ำขนาด
1.0 ลิตร
3.กรรไกร
4.มีด
5.ค้อน
6.ตะปู
วิธีทำ ไม้กวาดจากขวดพลาสติก
1)
เอาขวดพลาสติกที่ไม่ใช้แล้วแล้วมาห้าใบ
ขนาดเดียวกันทั้งห้าใบ ควรจะใช้ขวดขนาด1.0 ลิตร
2) ตัดก้นขวดออก
ตรงเหนือรอยหยักเล็กน้อย
3) จากนั้นใช้กรรไกรมาตัดตามความยาวของขวดให้เป็นเส้น
จากก้นขวดมาปากขวด และหยุดบริเวณที่นิ้วชี้ในรูป ตัดไปเรื่อยๆจนรอบขวด
แต่ละเส้นควรมีขนาดประมาณไม่เกิน 1 ซม
.
4) เอาขวดที่ตัดแล้ว นำไม้มาตอกติดแบบในภาพ
5)
จากนั้นให้หาไม้ไผ่ขนาดใหญ่และยาวกำลังพอเหมาะ หรือด้ามไม้ม็อบที่ไม่ใช้แล้ว
มาเหลาให้เล็กกว่าปากขวด แล้วสอดเข้าไปทางปากขวด จากนั้นเอาตะปูตัวเล็กๆมาตอกให้ขวดติดกับด้ามไม้ให้แน่นระวังอย่าใช้ตะปูตัวใหญ่
เพราะด้ามไม้จะแตก
วิธีการดำเนินโครงงาน
3.1 วิธีการดำเนินโครงงาน
ลำดับที่
|
กิจกรรม
|
ระยะเวลาในการดำเนินโครงงาน
|
|||||||
สัปดาห์
ที่1
|
สัปดาห์
ที่2
|
สัปดาห์
ที่3
|
สัปดาห์
ที่4
|
สัปดาห์
ที่5
|
สัปดาห์
ที่6
|
สัปดาห์
ที่7
|
สัปดาห์
ที่8
|
||
1
|
กำหนดชื่อโครงงาน
|
||||||||
2
|
กำหนดวัตถุประสงค์โครงงาน
|
||||||||
3
|
กำหนดขั้นตอนในการทำโครงงาน
|
||||||||
4
|
สืบค้นข้อมูลเพื่อจำทำโครงงาน
|
||||||||
5
|
จัดทำโครงงาน
|
||||||||
6
|
ลงมือทำโครงงาน
|
||||||||
7
|
การเขียนรายงาน
|
||||||||
8
|
การนำเสนอและแสดงผลงาน
|
บทที่4
ผลการดำเนินงาน
คณะผู้จัดทำสามารถดำเนินการได้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดีโดยการวางแผนวิธีดำเนินการอย่างเป็นขั้นตอนและมีการนำเทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ตมาใช้ในการทำโครงงาน
เช่น
1.การรวบรวมข้อมูล “ไม้กวาดจากขวดพลาสติก” จากทางอินเตอร์เน็ต
2.การศึกษาวิธีการสร้างเว็บบล็อกเพื่อใช้เป็นสื่อในการเผยแพร่ความรู้เรื่อง “ไม้กวาดจากขวดพลาสติก”จากทางอินเตอร์เน็ต
สรุป อภิปรายและข้อเสนอแนะ
การจัดทำโครงงาน ไม้กวาดจากขวดพลาสติก นี้สามารถสรุปผลการดำเนินโครงงาน และข้อเสนอแนะ ดังนี้
วัตถุประสงค์ของโครงงาน
1. เพื่อให้รู้ถึง การประยุกต์ใช้ ของเหลือใช้
2.ลดค่าใช้จ่ายให้ครัวเรือนและใช้วัตถุดิบจากธรรมชาติให้มากขึ้น
3.สามารถใช้ประกอบอาชีพได้
สรุปผลการดาเนินงานโครงงาน
จากการดำเนินงานโครงงาน วิทยาศาสตร์ประเภทสิ่งประดิษฐ์
เรื่อง ไม้กวาดจากขวดพลาสติก ในครั้งนี้สรุปผลการดำเนินงานได้ดังนี้
ทำให้ได้เว็บบล็อกเรื่อง ไม้กวาดจากขวดพลาสติก
เป็นการทำให้เกิดประโยชน์กับบุคคลที่สนใจทั่วไป
ข้อเสนอแนะ
ควรมีการจัดทำเนื้อหาของโครงงานให้หลากหลายให้ครบทุกกลุ่มสาระ
การเรียนรู้
ปัญหา อุปสรรค
และแนวทางในการพัฒนา
1. เครื่องคอมพิวเตอร์ไม่เพียงพอกับการทำโครงงาน
และบางครั้งอินเทอร์เน็ตมีปัญหา
2. สมาชิกในกลุ่มบางคนให้ความร่วมมือน้อยเพราะไม่ค่อยใส่ใจกับโครงงานนักจึงทำให้ เสียเวลาและทำให้โครงงานเสร็จช้า
ภาคผนวก
ที่อยู่เว็บบล็อกของผู้จัด
บรรณนานุกรม
คณะผู้จัดทำ